อายัดได้หรือ.? ที่ดินของวัดสมบัติพระศาสนา


ที่ดินของวัด

เป็นศาสนสมบัติ

ที่ดินของวัดย่อมมิใช่ที่ดินของใครคนใดคนหนึ่ง แม้กระทั้งเจ้าอาวาสวัดก็ไม่ใช้เจ้าของที่ดิน ที่วัดตั้งอยู่หากแต่ว่าวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล และเจ้าอาวาสเป็นผู้แทนของวัดในกิจการทั่วไป ท่านจึงมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาที่ดินของวัดเท่านั้น

ส่วนที่ดินที่เจ้าอาวาสได้มาโดยส่วนตัว เช่น พินัยกรรมยกให้ท่าน (มิใช่ยกถวายวัด)ท่านซื้อด้วยเงินส่วนตัวที่ดินนั้นย่อมไม่ใช่ที่ดินของวัด

ตามกฎหมายสงฆ์

ที่ดินของวัดมี 2 ชนิดได้แก่ 

ที่วัดคือที่ดินที่วัดนั้นตั้งอยู่และที่ธรณีสงฆ์ คือที่ดินซึ่งเป็นสมบัติของวัด ที่ดินนี้อาจจะอยู่ติดต่อกับที่วัดหรืออยู่ห่างไกลจากวัดทั้งที่วัดและที่ธรณีสงฆ์ไม่มีใครสามารถซื้อขายได้.!

ถึงตรงนี้ก็จะมีคำถามขึ้นว่าถ้าจำเป็นจะต้องดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดกับที่ดินของวัด จะกระทำได้หรือไม่อย่างไร

คำตอบก็คือที่ดินของวัดเป็นทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดชอบแห่งการบังคับคดี บุคคลใดจะยกอายุความขึ้นต่อสู้ก็มิได้ เว้นเสียแต่ว่า

ประการแรก 

ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของวัดขอโอนกรรมสิทธิ์ ทั้งนี้โดยความเห็นชอบจากมหาเถรสมาคมแต่จะใช้ที่ดินวัดฟรีก็ไม่ได้ เพราะว่าหากเจ้าอาวาสรูปใดให้ใครใช้ที่วัดฟรีๆ ท่านก็ผิดวินัยสงฆ์ในกรณีของส่วนราชการจึงต้องมีการจ่ายค่าทดแทนเรียกว่า ค่าผาติกรรม

ค่าผาติกรรม

การผาติกรรมที่ดินของวัด คือ การโอนที่ดินกรรมสิทธิ์ในที่ดินวัด ไม่ว่าจะเป็นที่ตั้งวัดหรือที่ธรณีสงฆ์ให้แก่ส่วนราชการซึ่งจำเป็นต้องใช้ที่ดินวัด เช่น ตัดถนนทางหลวงวัด สร้างคลองชลประทาน เขื่อน ฯลฯ โดยการผาติกรรมดังกล่าวต้องมีการตราพระราชกฤษฎีกาโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินวัดหรือที่ธรณีสงฆ์ให้แก่หน่วยราชการนั้นๆ หรือมีพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์

ค่าทดแทนที่จ่ายแก่วัดเรียกว่า เงินค่าผาติกรรม

ประการที่สอง 

เอกชนมีที่ดินของตนอยู่ติดต่อกับที่ดินของวัด แต่ที่ดินของเอกชนไม่มีทางออกเป็นที่ดินตาบอด ประสงค์จะขอทางออกผ่านที่ดินของวัดต้องขอทำสัญญาเช่าที่ดินของวัดเพื่อเป็นทางเข้าออก เรียกว่า การขอจดทะเบียนทางภาระจำยอมผ่านที่ดินของวัด


มติมหาเถรสมาคม

ครั้งที่ 18 / 2540 กำหนดว่า 


ในกรณีที่มีผู้ขอทำสัญญา และจดทะเบียนทางภาระจำยอมผ่านที่วัดหรือที่ธรณีสงฆ์ ให้เจ้าอาวาสวัดนั้นส่งแผนผังสังเขปประกอบด้วย ตำแหน่งที่ตั้งวัดหรือที่ธรณีสงฆ์ ที่ดินแปลงที่ขอภาระจำยอม ขนาดของภาระจำยอม เช่น ความกว้าง ความยาว และจำนวนเนื้อที่ โดยเข้ามาตกส่วนให้ชัดเจน สำเนาโฉนดที่ดินแปลงที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เงินบำรุงวัด เงื่อนไขพิเศษอื่นๆ ไปยังสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

เมื่อสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติรับเรื่องและตรวจสอบความถูกต้องแล้ว นำเสนอคณะกรรมการพิจารณางบประมาณศาสนสมบัติกลางประจำ (พศป.) พิจารณาเมื่อเห็นสมควรนำเสนอมหาเถรสมาคมเห็นชอบตามข้อเสนอเมื่อมหาเถรสมาคมเห็นชอบ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติจึงแจ้งมติให้วัดดำเนินการต่อไป

ทบทวนอีครั้งนะครับ หากส่วนทางราชการขอใช้ที่ดินของวัดต้องขอ ผาติกรรม และหากเป็นเอกชนขอผ่านที่ดินของวัดต้อง จดทะเบียนทางภาระจำยอม

ที่กัลปนา

นอกจากที่ซึ่งตั้งวัดและที่ธรณีสงฆ์อันเป็นที่ดินของวัดหรือเป็นศาสนสมบัติแล้ว เราคงได้ยินคำว่ากัลปนา ที่ดินซึ่งมิใช่ที่ดินของวัดหากแต่เป็นที่ซึ่งมีผู้อุทิศแต่ผลประโยชน์ให้วัดหรือพระศาสนา

เช่น นายสมชายมีศรัทธาอันแรงกล้ายกที่ดิน 5,000 ไร่ ให้วัดแต่ถวายหรือโอนที่ดินนั้นให้เป็นกรรมสิทธิ์ของวัด ถวายเพียงค่าเช่าที่ดินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่เกิดขึ้นแก่วัด ที่ดินนั้นยังเป็นกรรมสิทธิ์ของนายสมชาย จึงมิใช่ที่ดินของวัดเป็นเพียง ที่กัลปนา



" กรณีตัวอย่าง วัดถ้ำชัยมงคง สร้างโดยหลวงปู่วัง พระนักปฏิบัตินักพัฒนา เป็นลูกศิษย์สายหลวงปู่มั่น ท่านได้รวมศรัทธาญาติโยม สร้างวัดแห่งนี้ก่อนที่จะมีการประกาศให้พื้นที่ตั้งของวัด เป็นเขตอุทยานฯ แต่กลับมาถูกทุบทำลายในปีนี้เพราะ จนท.แจ้งว่าสร้างวัดรุกเขตอุทยานฯ..."

ที่วัดที่ธรณีสงฆ์ อันเป็นที่ดินของวัด ต่อมามีการยกเลิกวัดทรัพย์สินของวัดที่ถูกยกเลิกต้องตกเป็นศาสนสมบัติกลาง หรือวัดใดกลายสภาพเป็นวัดร้างที่ดินของวัดรวมทั้งทรัพย์สินของวัด ย่อมอยู่ในความดูแลของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ


สมชาย สุรชาตรี
สำนักงานศาสนสมบัติ
ลิขสิทธิ์ © 2011 สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด

วันศุกร์ที่ 24 กันยายน 2010 
เวลา 18:57 น.
Author: rungnapa

เพราะความลับไม่มีในอากาศ
>Talk--secret.blogspot.com
อายัดได้หรือ.? ที่ดินของวัดสมบัติพระศาสนา อายัดได้หรือ.? ที่ดินของวัดสมบัติพระศาสนา Reviewed by สารธรรม on 01:28 Rating: 5

1 ความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.